วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

ถอดรหัส 3 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนอนาคตโลกการ ซื้อ-ขายออนไลน์
      เทคโนโลยีในยุค Digital นั้นได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่ายชองผู้เบริโภคในทุกๆขั้นตอนไปอย่างมาก ตั้งแต่กระบวนการหาข้อมูล การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ และการสั่งซื้อสินค้า  การเติบโตของ E-Commerce ในทุกๆปีเป็นการยืนยันได้ว่า พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของ ผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปแล้ว เราจะมาดูกันว่า 4 เทคโนโลยีหลักที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในยุคนี้มีอะไรบ้าง?
      
-AI ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก
     ในยุคนี้ก่อนที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการมักจะทำการหาข้อมูลจากช่องทางออนไลน์อยู่เสมอ โดยเฉพาะกับ Google จากการสำรวจของ Kenshoo จะพบว่า 85 % ของผู้บริโภคที่ซื้อของออนไลน์จะมีการค้นหาข้อมูลและวางแผนการใช้จ่ายผ่านทาง Google แต่อย่างไรก็ดี Amazon ก็กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอยู่ไม่น้อยโดยจากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคประมาณ 49-55 % ใช้ Amazon
     ในการค้นหาข้อมูลและการทำงานของระบบประมวลผลของทั้ง Google และ Amazon นั้นจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือสินค้าหรือบริการที่ปรากฎขึ้นมาจากการจดจำพฤติกรรมข้อมูลของผู้ใช้นั้นมีผลต่อยอดขายไม่น้อยเลยทีเดียว
     นอกเหนือจากการค้นหาด้วยการป้อนข้อมูลที่เราคุ้นเคยนั้นในปัจจุบันเราจะเริ่มเห็นเจ้าลำโพงอัจฉริยะจากหลากหลายยี่ห้อได้เริ่มเข้าไปอยู่ในบ้านของหลายๆคนกันบ้างแล้วรวมไปถึงการที่ Google ได้เปิดตัว Google Lens หรือแม้แต่ Pinterest Lens ที่จะให้ทำการค้นหาข้อมูลจากภาพและเสียงนั้นมีความสำคัญมากขึ้นไปอีกในอนาคต

ที่มาhttps://www.brandbuffet.in.th/2018/05/online-shopping-technology-insight/

-VR กับ AR เข้ามาเพื่อยกระดับประสบการณ์

     ในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมาเราได้เห็นความพยายามของกิจการค้าปลีกหลายๆเจ้าที่เริ่มการจำลองพื้นที่จำหน่ายสินค้าของพวกเค้าด้วยระบบ VR เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของพวกเค้าได้สัมผัสกับประสบการณ์และเลือกชมสินค้าภายในบรรยากาศที่เหมือนกับกำลังเดินอยู่ในร้านค้าจริงๆ แต่อุปสรรคที่สำคัญสำหรับ VR นั้นก็คือพฤติกรรมของผู้บริโภคเองที่ในปัจจุบันยังมีความนิยมการใช้ตัวอุปกรณ์คลอบศรีษะอยู่อย่างจำกัด
     ในทางกลับกันเทคโนโลยี AR นั้นกลับมีบทบาทที่มากขึ้น ด้วยวิธีที่สามารถจัดวางวัตถุจำลองที่ต้องการซ้อนทับลงในบรรยากาศในโลกจริง โดยAR นั้นสามารถสร้างความแตกต่างรวมทั้งสามารถลดช่องว่างระหว่างทั้งโลก Digital กับโลกแห่งความจริงได้เป็นอย่างมาก อย่างที่เราจะเห็นได้ว่าบริษัทเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำเริ่มมีการใช้ Application ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าและนำไปวางตามมุมต่างๆในทุกๆที่ที่พวกเค้าต้องการเพื่อที่จะทำให้พวกเค้าสามารถเห็นภาพที่ตัวเองคาดหวังและช่วยให้การตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าชิ้นนั้นๆง่ายขึ้น
     ทั้งสองเทคโนโลยีนี้มีความน่าสนใจและการใช้งานในตัวเองที่แตกต่างกันออกไป แบรนด์ต้องเลือกให้ให้เหมาะกับสินค้าที่ตัวเองต้องการจะนำเสนอ ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราทำธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้า AR อาจจะช่วยให้เราลองทาบเสื้อผ้าเพื่อดูความเหมาะสมกับตัวเรา แต่ในขณะเดียวกันระบบ VR อาจจะสร้างประสบการณ์ที่หาได้ยาก อย่างเช่น สำหรับการสร้างบรรยากาศการชม Fashion Show เพื่อให้เค้าได้มีประสบการณ์ดีๆเกียวกับแบรนด์

-IOT ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงนิสัยการจับจ่าย

     
     การขยายตัวของการเลือกซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone หรือ Tablet ต่างๆได้ทำให้มุมมองของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในช่วงแรกๆนั้น การส่งข้อความ หรือแม้แต่ Social Media ไม่ได้ถูกคาดหวังให้เป็นช่องทางการขาย แต่เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบที่เอื้อให้กับการซื้อขาย Online เป็นอย่างมาก และนอกเหนือจากลำโพงอัจฉริยะที่เราพูดถึงไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น หลายๆเครื่องใช้ในบ้านที่เรานำมาติดตั้งที่บ้านในปัจจุบันนั้นสามารถเชื่อมต่อและมีการส่งผ่านข้อมูลต่อกันอย่างน่าสนใจซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างมากเลยทีเดียว
     การมาถึงของ เครือข่าย 5 G จะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลนั้นรวดเร็วขึ้น ซึ่งเราอาจจะได้เห็นเครื่องใช้ในบ้านเป็นหนึ่งในช่องทางการจัดจำหน่ายได้เช่นกัน เราอาจจะได้เห็นเครื่องใช้เหล่านี้สั่งสินค้าที่เหลือในปริมาณน้อยให้กับเราด้วยตัวมันเอง ซึ่งจะทำให้ E-commerce ที่เรารู้จักไม่ได้หยุดอยู่แค่การสร้างแบบจำลองหรือแสดงผลการค้นหาให้คุณได้เลือกอีกต่อไป แต่มันจะเข้าไปอยู่ในทุกมิติของชีวิตในยุค Digital ของคุณยกตัวอย่างเช่นการจ่ายเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
     ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดคือ Amazon Dash Button ที่เชื่อมต่อกับ Application ของAmazon และการกดเพียงครั้งเดียวก็จะทำการสั่งสินค้าและจัดส่งให้กับเราได้ทันที หรือผู้ผลิตตู้อบอาหารที่เชื่อมต่อข้อมูลกับ Website สอนทำอาหารชื่อดังเพื่อปรับอุณหภูมิของไฟในตู้ให้เหมาะสมกับเมนูอาหารนั้นๆอย่างไม่มีขาดไม่มีเกิน และในอนาคตอันใกล้สำหรับธุรกิจการจัดส่งอาหารที่ไม่จำกัดอยู่แค่ที่อยู่ที่มีการลงทะเบียนไว้อีกต่อไปโดยจะถูกจัดส่งถึงมือผู้บริโภคโดยยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง
     สำหรับการค้าขายในโลกของ IoT  นั้นมันไม่ใช่แค่การเพิ่มช่องทางการขายบนช่องทาง Digital เท่านั้นแต่มันคือ การผสมผสานกันของข้อมูลทั้งในส่วนของผู้บริโภคกับระบบการประมวลผลเข้าด้วยกันนั้นจะเป็นการสร้างมาตราฐานใหม่สำหรับการจับจ่ายใช้สอยของเราตั้งแต่ขั้นตอนของการหาข้อมูล การตัดสินใจ รวมไปถึงการขนส่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แบรนด์จำเป็นที่จะต้องวางแผนและเตรียมตัวที่จะรับมือกับคลื่นลูกใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและมีผลกระทบกับทุกๆคนในเร็วๆนี้


ที่มาhttps://www.brandbuffet.in.th/2018/05/online-shopping-technology-insight/